เด็กวัยแรกเกิด-3ขวบ


          ช่วงปีแรกของชีวิตวัยเด็กเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็ก
สามารถรับรู้สิ่งรอบตัวผ่านการทำงนประสานกันของประสาทสัมผัส ปฎิกิริยาสะท้อนและการเคลื่อนไหวร่างกายส่งเสริม
พัฒนาการในช่วงวัยนี้จะมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็กอย่างเหมาะสมดังนี้ 
1.       ด้านร่างกาย
     - เจริญเติบโตตามวัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน
     - มีความสามารถในการใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน
    2.    ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม
                     - มีความสุข ร่าเริงแจ่มใจ อารมณ์มั่นคง
                    -  สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
      3.   ด้านสติปัญญา
                    -  มีความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้เหมาะสมกับวัย
                    พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องดูแลเด็กด้วยความรัก  ความเข้าใจ   ความเอาใจใส่  และส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไป
ตามวัย และต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน คือ บางคนเร็ว บางคนช้า ถ้าเด็กมีพัฒนาการช้า พ่อแม่ควร
ส่งเสริมโดยการดูแลเอาใจใส่ หาของเล่นที่เหมาะสมกับวัย มีเสียงและสีสดในปลอดภัย เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกทำ
และให้กำลังใจโดยการชมเชยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
ตารางการเล่นและของเล่นที่เสริมพัฒนาการของเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี
อายุ
การเล่นและของเล่น
ประโยชน์
แรกเกิดถึง 2 เดือน
ยังเล่นไม่เป็น สามารถตอบสนองต่อเสียงและหันหาเสียง ควรพูดคุยหรือร้องเพลงเห่
กล่อม
กระตุ้นประสาทสัมผัสและการรับรู้เรื่องเสียง
2 เดือนถึง 2 เดือนครึ่ง
ชอบจับตาดูของที่เคลื่อนไหว ควรแขวนของเล่นที่มีสีสดใสและมีเสียงไว้ให้ดู ในระยะไม่เกิน 8 นิ้ว เช่นโมบายปลาตะเพียน เศษผ้าสีต่าง ๆ มีกรุ๊งกริ๊งที่ปลายไม้ไผ่ทาสีผูกเรียงใกล้ ๆ กัน และมีเสียงเมื่อลมพัด
กระตุ้นการใช้สายตาและการฟังเสียง
2 เดือนครึ่งถึง 3 เดือน
ชอบเล่นปัดวัตถุที่มองเห็นและมือยื่นไปถึง ของเล่นควรเป็นลูกบอลนิ่ม ๆ แขวนไว้เหนือเปลหรือเตียงให้ห่างจากตาประมาณ 10 นิ้ว เมื่อเด็กสัมผัสแตะต้องถ้ามีเสียงด้วยยิ่งดี
ฝึกสายตากับการใช้มือให้สัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น
และฝึกสังเกตเสียงที่ได้ยิน
3 เดือนถึง 4 เดือน
ชอบเล่นแตะจับสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว ของเล่นควรเป็นแบบไม่แกว่งหรือโยนตัวหนีเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กหงุดหงิด
ฝึกให้เด็กใช้มือจับสิ่งต่าง ๆ และสังเกต
ด้วยการสัมผัส ได้รับรู้ความรู้สึกแข็ง นิ่ม
4 เดือนถึง 6 เดือน
อยากดู อยากยื่นแขนออกไปแตะและจับวัตถุต่าง ๆมากขึ้น ควรหาของต่าง ๆ ให้เด็กดูและจับมาก ๆ เช่นตุ๊กตายางเป็นรูปต่าง ๆ มีผิวหยาบแต่นุ่ม ลูกบอลทำด้วยผ้าสำลีหรือผ้าลื่น ๆ ถ้ามีเสียงดังขณะที่กำบีบเขย่า เด็กยิ่งชอบ ของเล่นอาจเป็นกล่องกระดาษแข็งสี
ต่าง ๆ บรรจุเมล็ดผลไม้ไว้ข้างในก็ได้ แต่สิ่งที่ให้เด็กจับต้องเป็นวัตถุที่ไม่มีพิษภัยหรือเป็นอันตรายเมื่อเด็กเอาใส่ปาก
ฝึกการใช้มือ นิ้วมือ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ
ได้ความรู้สึกหยาบแข็ง นิ่ม ลื่น และ
ฝึกสังเกตฟังเสียง
4 เดือนถึง 6 เดือน
ชอบเล่นน้ำในขณะอาบน้ำ ควรให้ของเล่นที่ลอยน้ำได้
เช่น ตุ๊กตาทำด้วยยางหรือพลาสติกลูกบอลใส ๆ มีของ
อยู่ข้างในและมีเสียงขณะที่น้ำกระเพื่อม
ฝึกการให้มือ นิ้วมือ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ สังเกต
การเคลื่อนไหวของสิ่งที่ลอยน้ำได้
6 เดือนถึง 8 เดือน
-รู้สึกคันเหงือกเมื่อฟันใกล้ขึ้น ควรให้ยางหรือพลาสติก
 สำหรับกัด อาจใช้ผักสดชิ้นโต ๆ ก็ได้ เช่น แตงกวาคว้าเมล็ดออก ล้างให้สะอาด
-ชอบเล่นกับเงาตัวเองในกระจก เล่นจ๊ะเอ๋หรือซ่อนหา
  ของเล่นอาจเป็นพลาติกใส มีลูกแก้วกลอกกลิ้งอยู่ข้าใน   
-ชอบเล่นกระดาษและฉีกกระดาษ
-ชอบเสียงกระทบกัน ของเล่นควรเป็นของที่ไม่แตก และทำให้เกิดเสียงดังได้ เช่น ของเล่นไขลานเดินได้ หมุนได้มีเสียง

-ช่วยให้เด็กคลายดันเหงือกได้ ยิ่งดันมาก
 ยิ่งอยากใช้เหงือกย้ำ ทำให้เหงือกแข็งแรง

-ฝึกการสังเกตและเคลื่อนไหวสายตา

-ฝึกการใช้มือ นิ้วมือ ให้คล่องแคล่วขึ้น
-ฝึกการสังเกตและเคลื่อนไหวสายตาขณะที่
 เล่นไขลานเคลื่อนที่
8 เดือนถึง 9 เดือน
-ชอบโยกตัวเป็นจังหวะเมื่อได้ยินเสียงเพลงควรเปิดเพลง
ให้เด็กฟัง
-ชอบจับต้องสิ่งของต่าง ๆ สนใจในเรื่องน้ำหนัก รูปร่าง
 พยายามนำสิ่งของต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันแล้วจับแยกออก ของเล่นควรเป็นวัสดุท่ทำเป็นรูปต่าง ๆ อาจเป็น
กล่องกระดาษแข็งสีต่าง ๆ บรรจุก้อนกรวดไว้ข้างในปิดให้มิดชิด
-ฝึกฟังเสียงและจังหวะเพลง
-ฝึกการสังเกตรูปร่างต่าง ๆ ถ้าหากวัสดุนั้นมีอะไร
 อยู่ข้างในก็จะจับเคาะ เขย่า ฝึกการฟังเสียง
 และเรียนรู้น้ำหนักของวัสดุนั้นด้วย

9 เดือนถึง 10 เดือน
-ชอบหยิบของเล็ก ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ชอบเล่นรูและซอกต่าง ๆ ของเล่นควรเป็นกล่องหรือ  หีบเจาะรูไว้ข้างบนใหญ่พอที่เด็กจะหยิบของชิ้นเล็ก ๆ เช่น หมุดไม้ หรือพลาสติกสีต่าง ๆ ใส่ลงไป
-ชอบเล่นดึงเชือกที่ติดกับของเล่น ทำให้ของเล่นเคลื่อนที่ได้
-ฝึกการใช้ปลายนิ้วหยิบใส่ กดลงไปในรูหรือ
 ช่องที่เจาะไว้บนกล่อง และฝึกการใช้สายตา
 และมือให้สัมพันธ์กัน
-ฝึกการใช้กล้ามเนื้อแขนและการเคลื่อนไหว
 สายตา
10 เดือนถึง 1 ปี
-ชอบเล่นตบแผละและเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่
 ชอบรื้อของ
-ฝึกการใช้มือและแขน การสังเกต และส่งเสริม
 การเรียนรู้



       พัฒนาการตามวัยของเด็กอายุ 1- 3 ปี


  
พัฒนาการแต่ละช่วงวัย
          
พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม

พัฒนาการด้านสติปัญญา

12-18 เดือน

- ลุกขึ้นยืนได้ เดินได้ กระโดดได้ด้วย  ตนเอง
- เล่นกลิ้งลูกบอลเบา ๆ ได้
- ก้มเก็บของที่พื้นได้โดยไม่ล้ม
- ถอดเสื้อผ้าเองได้


- เข้าใจท่าทางและสีหน้าของผู้อื่น
- พยายามทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
- โกรธเมื่อถูกขัดใจ
- ตัดสินใจทำได้ด้วยตนเอง
- สนใจการกระทำของผู้ใหญ่
- เริ่มช่วยเหลือตนเองได้


- เริ่มเปล่งเสียงหรือกล่าว  คำพูดเกี่ยวกับการกระทำที่ทำอยู่
- พูดเป็นคำ ๆ ได้มากขึ้น
- ทักทาย ลา โดยใช้ท่าทางและเสียง


18-24 เดือน

 - เดินไปข้างหน้า ถอยหลัง หรือเดินไปข้าง ๆ ได้
- วิ่งช้าแล้วหยุดทันที และเริ่มวิ่งใหม่
- กระโดดด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง
- เดินขึ้นบันไดโดยจับราว
- ดึง หรือผลักสิ่งของขณะเดิน
- ใช้ข้อมือได้มากขึ้น หมุนมือขณะ  หมุนสิ่งของ

- ต้องการความสม่ำเสมอในกิจวัตรประจำวัน
- ส่องกระจก และรับรู้ว่าเป็นภาพ
ของตนเอง
- ใช้ช้อนตักอาหารได้เอง แต่หกเลอะเทอะ
- ดื่มน้ำจากแก้วได้เอง
- เริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบ

- พูดคำตอบได้ เช่น ไปเที่ยว กินข้าว
- เลียนแบบคำพูดที่ผู้ใหญ่พูด
- ชอบฟังนิทานสั้น ๆ
- พยายามทำตามคำสั่ง
- มีความเข้าใจเรื่องช่วงเวลาที่ทำกิจวัตร
   ประจำวัน
- เรียกหรือชี้ส่วนต่าง ๆของร่างกาย
- เริ่มจำชื่อวัตถุ สิ่งของ



24-36 เดือน

- วิ่งคล่องขึ้น แต่ไม่สามารถหยุดได้   ทันที
- เดินถอยหลังนั่งเก้าอี้ได้
- ขึ้นลงบันไดได้เอง โดยวางเท้าทั้ง 2ข้างบนบันไดขั้นเดียว
- สลับเท้าขึ้นบันไดได้เมื่ออายุย่าง 3 ปี
- หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้
- จับดินสอแท่งใหญ่ ๆ ได้ด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือได้

- เล่นรวมกับคนอื่น แต่ต่างคนต่าง เล่น
- กลัวตามสิ่งที่ผู้ใหญ่กลัว
- มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองเมื่อได้รับการยอมรับหรือชมเชย
- พยายามช่วยตนเองในเรื่องการแต่งกาย
- เริ่มรู้จักการเล่นเป็นกลุ่ม
- รู้จักการขอ และการให้
- มีความเป็นตัวของตัวเอง
- เริ่มรู้จักรอคอย

- มีความสนใจกับของบางอย่างได้นาน
3-5 นาที
- เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยการเลียนแบบผู้
ใกล้ชิดหรือเดืกอื่น
- ชอบดูหนังสือภาพ เล่าเรื่องตาม
  จินตนาการ
- ชอบฟังบทกลอน นิทาน คำคล้องจอง
- ชอบฟังดนตรี
- สนใจ ค้นคว้า สำรวจสิ่งต่าง ๆ
- เริ่มประโยคคำถาม “อะไร”
- อยากเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ถามซ้ำ ๆ บ่อย ๆ