วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คุณแม่มือใหม่

พบกับหน้าเว็บใหม่ที่จะให้คุณ ๆ ที่กำลังจะสร้างครอบครัว และผู้ที่กำลังจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่

มีแนวทางการดูแลตนเอง และลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาออกมาดูโลก   

โดยหน้าแรกนี้จะกล่าวถึง ช่วงพัฒนาการในวัยต่าง ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ การพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์,

พัฒนาการในช่วงวัยแรกเกิด-3 ขวบ, พััฒนาการในช่วงวัย3-6ขวบ,  พัฒนาการในช่วงวัย6-9ขวบ,

พัฒนาการในช่วงวัย9-12ขวบ

พัฒนาการทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์
  
  การตั้งครรภ์ อาการคนท้องและ
 พัฒนาการทารกในครรภ์1-9เดือน
 อายุครรภ์กับขนาดท้อง ที่โตขึ้น     
ในแต่ละไตรมาส ขนาดของครรภ์จะโตขึ้นเรื่อยๆตามอายุครรภ์ ระดับมดลูกก็จะแตกต่างตามไปด้วยเช่นกันค่ะ
-   ไตรมาสแรก (ประมาณ 0 – 12 สัปดาห์) ขนาดมดลูกยังไม่ขยาย แต่บางคนที่รู้สึกว่าท้องใหญ่ขึ้นนั้นเป็น เพราะท้องอืด          เพราะฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ทำให้แพ้ท้องและมีท้องอืดร่วมด้วย
-   ประมาณสัปดาห์ที่ 10 – 12 จะเริ่มคลำขนาดมดลูกที่หน้าท้องได้เหนือหัวหน่าวเล็กน้อย
ความยาวของทารกจากศีรษะข้างต้น 6-7 ซ.ม. เริ่มมีการสร้างเนื้อกระดูก และการพัฒนาของนิ้วมือและเท้า ผิวหนัง เล็บ และเส้นขน อวัยวะเพศภายนอกเริ่มแยกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง ระยะนี้ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหว
-   ช่วงเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 14 มดลูกจะอยู่ 2 ใน 3 นับจากสะดือไปถึงหัวหน่าว (เวลาแบ่งช่วงหน้าท้องทางการ แพทย์จะ   แบ่งจากใต้สะดือเป็น 3 ส่วน เหนือสะดือเป็น 4 ส่วน)
-   ช่วงสัปดาห์ที่ 20 ยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือพอดี  ทารกมีน้ำหนักประมาณ 630 กรัม ผิวหนังมีลักษณะเหี่ยวย่น เริ่มมีไขมันสะสมที่ชั้นใต้ผิวหนัง เริ่มมีขนคิ้ว และขนตา หลอดลมเริ่มพัฒนา แต่ถุงลมในปอดยังไม่พัฒนา ดังนั้น ถ้าคลอดในระยะนี้ทารกจะพยายามหายใจ แต่ไม่มีถุงลมแลกเปลี่ยนออกซิเจน และเสียชีวิตในที่สุด
 -   หลังจากสัปดาห์ที่ 20 ขนาดของมดลูกจะมีขนาดเท่ากับอายุสัปดาห์ เช่น ถ้าอายุครรภ์ 23 สัปดาห์ จะวัดยอด มดลูกจากเหนือหัวหน่าวได้ 23 ซม.พอดี ซึ่งเป็นวิธีที่หมอสูติใช้ตรวจว่าขนาดมดลูกด้วยว่าเจริญเติบโตเท่ากับอายุ หรือ ไม่
-   หลังจากสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ ความยาวของทารกประมาณ 25 ซ.ม. และน้ำหนัก 1,100 กรัม ผิวหนังจะปกคลุมด้วยไข ทารกที่คลอดในระยะนี้จะเคลื่อนไหวแขนขาได้ดี และส่งเสียงร้องได้เบาๆ
 -   หลังจากสัปดาห์ที่ 32  ของการตั้งครรภ์ ทารกจะมีความยาว 28 ซ.ม. และน้ำหนัก 1,800 กรัม ผิวหนังยังคงมีลักษณะเหี่ยวย่น ทารกที่คลอดระยะนี้มักจะสามารถเลี้ยงรอดได้ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน
-   หลังจาก 37 สัปดาห์ (หรืออาจจะมากกว่านี้กับคุณแม่บางคน) คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องเริ่มลด นั่นเป็นเพราะลูก กำลังกลับศีรษะลงในอุ้งเชิงกราน จึงทำให้รู้สึกเหมือนท้องลด ถือเป็นสัญญาณใกล้คลอดให้คุณแม่ได้ด้วย แต่หาก เด็กตัวใหญ่มาก ไม่ยอมกลับศีรษะ แต่ใช้ส่วนนำเป็นก้น แม่จะรู้สึกแน่น ตึง เพราะมดลูกค้ำอยู่กรณีนี้จะต้องผ่าคลอดค่ะ   


การสร้างเสริม 4 พัฒนาการของทารกในครรภ์












 
การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไร
ากากากา
 หหห



jj













6 สัปดาห์รู้เพศทารก